580 chapter1

1 บทที่ 1 บทนา 1.1 ที่มาและความสาคัญของปัญหา ด้วยฝุ่นตกเป็นอนุภาคของฝุ่นละอองที่ตกออกจากบรรยากาศโดยแรงโน้มถ่วงของโลก โด...

27 downloads 88 Views 90KB Size
1

บทที่ 1 บทนา 1.1 ที่มาและความสาคัญของปัญหา ด้วยฝุ่นตกเป็นอนุภาคของฝุ่นละอองที่ตกออกจากบรรยากาศโดยแรงโน้มถ่วงของโลก โดย ปกติแล้วฝุ่นตกเป็นอนุภาคของของแข็งที่มีขนาดเล็กมาก ไม่อาจจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจนกระทั่ง มีขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีขนาดโดยเฉลี่ย 20-40 ไมครอน ฝุ่นที่มีแหล่งกาเนิด มาจากยานพาหนะ จะก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยส่วนใหญ่จะพบในเขตชุมชนขนาดใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นต้น ทั้งนี้เพราะจานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทาให้ เกิดความต้องการในการเดินทางและการขนส่งมากยิ่งขึ้น จนส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด และ นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การจราจรที่ติดขัดทาให้รถเคลื่อนตัวได้ด้วยความเร็วต่า มีการ หยุดและออกตัวบ่อยครั้ง น้ามันถูกเผาผลาญมากขึ้น การสันดาปของน้ามันเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ และมี การระบายสารมลพิษทางท่อไอเสีย ในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นบริเวณที่ใกล้ถนนที่มีการจราจร ติดขัด จะมีปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงกว่าในบริเวณที่มีการจราจรคล่องตัว ด้านผลกระทบของ ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นนั้น เมื่อแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศก็จะส่งผลกระทบในด้านการมองเห็น เนื่องจาก ฝุ่นละอองในบรรยากาศมีทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลวซึ่งสามารถจะดูดซับและหักเหแสงได้ เป็นผล ทาให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลง และยังเป็นสาเหตุที่ทาให้เกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคทางเดิน หายใจ โรคปอด เป็ น ต้น เมื่อฝุ่ น ละอองที่มีอยู่ใ นบรรยากาศตกลงสู่ พื้นเบื้องล่ า งก็จะสร้างความ เสี ย หายแก่ วั ส ดุ สิ่ ง ก่ อ สร้ า ง อาคารบ้ า นเรื อน เช่ น ท าให้ เ กิด ความสกปรกแก่อ าคารและสิ่ ง ของ โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ติดริมถนนจะพบปัญหาเรื่องฝุ่นตกมากกว่าบริเวณอื่น ดังนั้นฝุ่นตกจึงใช้เป็น ดัชนีที่สาคัญของมลพิษทางอากาศ (ขวัญฤทัย ทองบุญฤทธิ์, 2553) นอกจากนี้ในฝุ่นตกยังเป็นแหล่ง สะสมของโลหะหนั ก ซึ่ ง เป็ น พิ ษต่ อ สิ่ ง มีชี วิ ต และบางชนิ ด เป็ น สารก่ อ มะเร็ ง โลหะหนั ก เป็ น สาร ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีความคงตัวไม่สามารถสลายตัวได้ (มลิวรรณ บุญเสนอ, 2549) ด้วย เหตุนี้ ปริ มาณโลหะหนักจึงมีป ริมาณเพิ่มมากขึ้น เห็นได้ชัดในเขตชุมชนขนาดใหญ่และกลายเป็น ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงต่อประชาชน ดัง นั้นการศึกษานี้จึงสนใจที่จะศึกษาโลหะหนักในฝุ่นตกบริเวณ บ้านริมถนนสายหลั กและถนนสายรองในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหา สุขภาพของกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาโลหะหนักในฝุ่นซึ่งได้แก่ สังกะสี (Zn), เหล็ก (Fe), แคดเมียม (Cd), ทองแดง (Cu) และตะกั่ว (Pb) บริเวณบ้านริมถนนสายหลักและถนนสายรองในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก

2

1.3 ขอบเขตการศึกษา 1.3.1 ขอบเขตด้านพื้นที่ศึกษา ถนนสายหลัก ได้แก่ ถนนบรมไตรโลกนารถ และถนนสายรอง ได้แก่ ถนนราษฎร์อุทิศ ระยะเส้นทางละ 1 กิโลเมตร 1.3.2 ขอบเขตด้านวิธีการดาเนินการศึกษา เก็บตัวอย่างฝุ่ น เดือนละ 1 ครั้งๆละ 20 หลังคาเรือน ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร และ วิเคราะห์โลหะหนักด้วยเครื่อง Atomic Absorption Spectrophotometer (Shimadzu AA-6200) 1.3.3 ขอบเขตด้านระยะเวลา เก็บตัวอย่างฝุ่นเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2556 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.4.1 ทราบความเข้ มข้ น ของโลหะหนัก ในฝุ่ น ที่ อ าจเป็ น สาเหตุ ข องปัญ หาสุ ข ภาพของ ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ตามบ้านริมถนนที่มีการจราจรหนาแน่นในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก 1.4.2 ผลวิจัยที่ได้สามารถนามาใช้เป็นข้อมูลในการจัดทามาตรการป้องกัน มลพิษทางอากาศ ได้ 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ ฝุ่น (dust) หมายถึ ง เป็ น อนุ ภ าคของแข็ ง ขนาดเล็ ก ที่ ล อยปะปนอยู่ ใ นอากาศเส้ น ผ่ า น ศูนย์กลางระหว่าง 0.25-500 ไมครอน อาจจะเป็นสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ ฝุ่นตก (dust fall) หมายถึง ฝุ่นละอองที่มีอยู่ในอากาศและจะตกลงสู่พื้นเบื้องล่างได้ โดย ปกติแล้วฝุ่นตกเป็นอนุภาคของของแข็งที่มีขนาดเล็กมาก ไม่อาจจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจนกระทั่ง มีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีขนาดโดยเฉลี่ย 20-40 ไมครอน ฝุ่นตกใช้เป็นดัชนีที่ สาคัญของมลพิษทางอากาศ โลหะหนัก (heavy metals) หมายถึง ธาตุที่มีความถ่วงจาเพาะตั้งแต่ 5.0 ขึ้นไป จัดเป็น สารพิษกลุ่ มหนึ่ งที่พบอยู่ ทั่ว ไปตามธรรมชาติในดิ น น้า อากาศ ที่ส าคัญ ได้แก่ แคดเมียม ตะกั่ ว แมงกานิส และอื่นๆ ถนนสายหลัก หมายถึง ถนนสายหลักของท้องถิ่น เช่น ถนนที่ต่อเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดิน ถนนในเขตชุมชนหนาแน่น เป็นต้น ถนนสายรอง หมายถึง ถนนต่อแยกจากถนนสายหลัก 1.6 สถานที่ทาการวิจัย ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารสิ่ ง แวดล้ อ ม สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สิ่ ง แวดล้ อ ม ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารเคมี สาขาวิชาเคมี และศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม